วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความหนาของถังแก๊ส

ความหนาของถังแก๊สหุงต้ม และถังแก๊สชนิดอื่น

        การผลิตถังแก๊สที่ใช้บรรจุก๊าซหุงต้ม ที่ได้มาตรฐาน อิงตาม มอก. 27 และ มอก. 915
ให้ต้องได้ตามข้อกำหนดที่ตั้งไว้คือมีความหนาของตัวถัง 2.2 มม. เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน
หากว่ากันตามทฤษฎี อาจจะยังไม่เห็นภาพ จึงได้นำตัวอย่าง จากที่มีผู้ทำการทดสอบ หาความหนา
ของเนื้อเหล็ก ที่ทำถังแก๊สชนิดต่างๆไว้ น่าจะมีประโยชน์ และง่ายต่อการทำความเข้าใจของคนทั่วไป



 ที่มา  

http://topicstock.pantip.com/ratchada/topicstock/2008/06/V6663222/V6663222.html

 

ถัง NGV 100 ลิตรน้ำจุแก็สCNGได้ 21กิโลกรัมความหนาถัง 8.5 มม.


 

ถัง LPG ความจุ 75 ลิตร แต่เติมได้ 65 ลิตร ค่าความหนา 2.8 มม.



ถัง LPG ครัวเรือน 15 กก. วัดได้ 2.6 มม.(ข้อมูลที่อยู่บนถัง ระบุว่าหนา 2.4 มม.)


ถังลม ออกซิเจน (ใช้ตัดเหล็ก) ค่าความหนาวัดได้ 7.7 มม.

จะเห็นได้ว่า ถังแก๊สที่ใช้ในบ้านจะมีความหนา น้อยกว่าถังบรรจุก๊าซ ngv ที่ใช้ในรถยนต์ นั่นเป็นเพราะก๊าซ cng หรือ ngv มีแรงดันมากกว่า lpg จึงต้องใช้ถังที่มีความหนาเป็นพิเศษ


ส่วนประกอบของถังแก๊ส


         ถังแก๊ส เป็นภาชนะสำหรับบรรจุแก๊ส เนื่องจากแก๊สมีความดันไอสูง
ภาชนะที่จะนำมาใช้บรรจุจึงต้องทนกับความดันได้

เหล็กเหนียวเป็นวัสดุที่เหมาะที่สุดในการใช้ทำถังแก๊สทั่วๆไป เหล็กเหนียวที่จะนำมาใช้ทำถังแก๊ส
จะมีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อกำหนดทั้งทางกลและทางเคมี เพื่อให้ถังแก๊สที่ผลิตออกมานอกจากจะทน
ต่อความดันสูงแล้ว ยังต้องไม่เปราะและไม่แตกง่าย

        เพื่อให้มีความปลอดภัยสูงสุดในการใช้ ในบางประเทศใช้อะลูมิเนียมทำถังแก๊ส เพราะจะทำให้
ถังแก๊สมีน้ำหนักเบา แต่เนื่องจากมีราคาแพง และไม่ทนทานต่อการกัดกร่อนของกรด/ด่างที่ปะปน
อยู่ในถังแก๊สจึงยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายนัก

         การผลิตถังแก๊สจะต้องเป็นไปตามขบวนการและมาตรฐานกระทรวงอุตสาหกรรม หรือมาตรฐาน
สากลอื่นๆ เช่น มาตรฐานญี่ปุ่นมาตรฐาน ออสเตรเลีย มาตรฐานกรมการขนส่งทางบกของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น




คลิกที่ภาพเพื่อขยายใหญ่



ถังแก๊สมีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้

  1. โกร่งกำบังลิ้น/หูหิ้ว ทำหน้าที่สำคัญคือป้องกันไม่ให้ลิ้น วาล์ว ถูกกระทบกระแทกและใช้สำหรับหิ้ว
  2. ลิ้น/วาล์ว เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ลิ้น/วาล์ว สำหรับถังชนิดนี้ ให้เป็นชนิดที่ปิดโดยอัตโนมัติ จึงออกแบบเมื่อถอดหัวปรับออกโดยใช้สปริงเป็นตัวปิดเปิด
  3. ฐานถัง มีไว้สำหรับป้องกันไม่ให้ก้นถังกระแทกกับพื้น และเพื่อให้ตั้งถังบนพื้นได้อย่างมั่นคงฐานถังจึงต้องเรียบเสมอและแข็งแรง
ศูนย์ข้อมูลแก๊สหุงต้ม

ข้อมูลจาก http://www.nonggerd.ac.th/gas/__8.html


ข้อมูลที่น่าสนใจจากสื่อประกอบการเรียน โรงเรียนบ้านหนองเกิด โดยนายมงคล มูลชีพ

ไม่มีความคิดเห็น: