วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555

คำถามที่พบบ่อย เรื่องวาวล์ถังแก๊ส

วาวล์ แก๊สหุงต้ม lpg การเลือกซื้อ วิธีใช้ ถังแก๊ส

วาวล์เปิดปิดแก๊สที่ถัง จริงๆแล้วมีหลายแบบ

แต่ที่ได้รับความนิยมในบ้านเรา จนเรียกว่าเป็นแบบมารตรฐาน



วาวล์หมุน


ก็คือแบบวาวล์หมุน

ซึ่งใช้ในถังแก๊สขนาด 15 กก.ตามบ้านทั่วไปมากกว่า 90%
เนื่องจากใช้งานง่าย ลักษณะกลไกไม่ซับซ้อน ทำให้มีความคงทน
ไม่มีการเสียจุกจิก



หัวกด,หัวสวม,หัวปิด-เปิด ในภาพเป็นยี่ห้อ ปตท.


แบบหัวสวม,แบบหัวเปิด-ปิด,หัวจัมโบ้,หัวกด

เป็นแบบที่ได้รับความนิยมรองลงมา การใช้งานก็ง่ายดีเหมือนกัน ตือแค่ยกสลักปิดเปิด หรือคันโยกแล้วแต่จะเรียก ก็เปิดใช้แก๊สได้แล้ว
แต่ข้อเสียของมันก็คือ มันเสียง่ายกว่าแบบวาวล์หมุน เนื่องจากตัวกลไกของมันประกอบด้วยสลัก สปริง หัวเข็ม เมื่อมีอายุการใช้งานหลายปีเข้าก็เสื่อมสภาพ สึกหรอ เกิดได้ทั้งที่หัวถัง และที่หัวปรับ
จึงไม่ได้รับความนิยมเท่าแบบวาวล์หมุน

เมื่อผู้ใช้มีน้อย ร้านแก๊สจึงไม่ค่อยสต๊อคถังแบบหัวกดนี้มากเท่าไหร่ จะมีติดร้านไว้ก็เพื่อรองรับลูกค้าที่ยังใช้อยู่ก่อนแล้วเท่านั้น ถังใหม่สำหรับลูกค้าใหม่จะไม่นำมาขาย รวมถึงจะไม่แนะนำลูกค้ารายใหม่ให้ใช้แบบหัวกดด้วย เพราะไม่อยากตามแก้ปัญหาจุกจิก หลังการใช้งาน

หัวแบบกดนี้ มีความแตกต่างกันในแต่ละยี่ห้อ


หัวปรับความดันของยี่ห้อ ปตท. เป็นแบบเดียวกับยี่ห้อ ยูนิคแก๊ส (ในอดีตคือ เอสโซ่แก๊ส,โกแก๊ส,บลูแก๊ส)


หัวปรับชนิดที่ใช้กับยี่ห้อ ปตท. และยูนิคแก๊ส


หัวปรับความดันของยี่ห้อเวิลด์แก๊ส เป็นแบบเฉพาะตัวไม่เหมือนยี่ห้ออื่น(ในอดีตคือ เชลล์แก๊ส)


หัวปรับที่ใช้กับยี่ห้อ เวิลด์แก๊ส

เมื่อผู้ใช้ต้องการเปลี่ยนแบบวาวล์ถังแก๊สของตัวเอง

เช่นอยากเปลี่ยนจากหัวสวม มาเป็นแบบหัววาวล์หมุน ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือไม่? เท่าไหร่?


มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม

1. ค่าหัวปรับความดัน  ซึ่งต้องเปลี่ยนมาเป็นแบบใหม่ ของเก่านั้นใช้ไม่ได้ และไม่สามารถขายคืน หรือเทริน เพื่อลดราคาหัวปรับใหม่ก็ไม่ได้ด้วย เพราะเป็นของใช้แล้ว ทางร้านไม่รับซื้อคืนแน่นอน

หัวปรับแบบเกลียวราคาตั้งแต่ 300-2500 บาท แล้วแต่รุ่น

2. ค่าเปลี่ยนถังใบใหม่ อาจมีค่าเปลี่ยนไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับเหตุผลหลายอย่าง

เปลี่ยนถังข้ามยี่ห้ออาจเสียค่าใช้จ่ายมาก

เช่นเปลี่ยนเป็นยี่ห้อเดียวกัน(ปตทหัวกดเป็นหัวหมุน) อาจมีค่าเปลี่ยนประมาณ 200-1500 บาท ตามสภาพถังเดิมของเรา
เปลี่ยนกับยี่ห้ออื่น เช่นเปลี่ยนจากยี่ห้ออื่น เป็นของ ปตท. อาจมีค่าเปลี่ยนประมาณ 1000-2000 บาท

และขนาดของถังที่จะเปลี่ยนกันด้วย ถ้าถังที่เราจะเปลี่ยนมีขนาดใหญ่กว่าถังเดิมของเรา ก็ต้องเพิ่มเงินอีก

อันนี้ต้องติดต่อกับร้านแก๊สที่คุณจะไปใช้บริการ ถ้าร้านนั้นเป็นตัวแทนจำหน่ายของยี่ห้อใด ราคาการเปลี่ยนในยี่ห้อนั้นจะไม่แพงมาก

บางที คำนวนราคาดูแล้ว อาจจะต้องเพิ่มเงินค่าเปลี่ยนถังเกือบจะเท่ากับการซื้อถังใหม่เลยก็ได้ จึงต้องใช้เวลาในการสอบถามและไตร่ตรองดูให้ดี ไม่ควรรีบร้อน

และทั้งหมดนี้ยังไม่มีข้อกำหนดที่ชัดเจน เป็นเรื่องที่ต้องเจรจาต่อรองกันของผู้ใช้แก๊สกับร้านค้า


ร้านค้าแก๊สบางร้านอาจไม่มีนโยบายรับเปลี่ยนถังข้ามยี่ห้อ เพราะไม่ได้เป็นตัวแทนจำหน่ายยี่ห้ออื่น
จึงไม่มีช่องทางระบายถังเก่าที่รับมา จึงตัดปัญหา ไม่รับเปลี่ยน อันนี้ผู้ใช้อาจต้องติดต่อร้านอื่น

ศูนย์ข้อมูลแก๊สหุงต้ม การเลือกซื้อ วิธีใช้

วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555

ทำไมรถส่งแก๊สต้องเก่า? ควันเยอะ?

ทำไมรถส่งแก๊สต้องเก่า? ควันเยอะ?

แก๊สหุงต้ม การเลือกซื้อ วิธีใช้


          ภาพชินตาของชาวบ้าน ร้านตลาด คือมอเตอร์ไซค์ส่งแก๊ส ควันโขมง มีถังแก๊สซ้อนกันเต็มตะแกรงท้าย  ขับขี่ลดเลี้ยวไปตามตรอกซอกซอย  และบนถนนที่มีการจราจรคับคั่ง  แต่ม้าเร็วส่งแก๊สเหล่านี้ก็ขี่ฝ่าไปได้ เหมือนวิ่งบนทางโล่ง

         ทั้งเสียงดังของเครื่อง และควันจากท่อ ก็ประมาณอายุการใช้งานได้ว่าใช้มานานมากแล้ว แต่ก็ยังไม่ปลดระวาง

         ทำเอาหลายคนสงสัยว่า เหตุใดร้านแก๊สจึงมักใช้รถประเภทนี้ ขนส่งถังแก๊สที่ดูแล้วไม่น่าจะมีความปลอดภัยเพียงพอ  อาจเกิดอันตรายแก่ผู้ขับขี่เอง และผู้ใช้ถนนท่านอื่นๆ หากมีอุบัติเหตุขึ้น ระหว่างการส่งแก๊ส
         ด้วยน้ำหนักของถังแก๊สหากบรรจุเต็มก็จะมีน้ำหนักประมาณ31กก(ถังทั่วไปขนาด15 กก.) แล้วโดยมาก มักจะพบว่ามอเตอร์ไซค์ส่งแก๊สนี้บรรทุกมาไม่ต่ำกว่า 3ถัง ต่อหนึ่งเที่ยว เท่ากับว่าน้ำหนักบรรทุกรวมคนขี่ก็ตก ร้อยกิโลกว่าๆ เมื่อเป็นเช่นนี้การบังคับรถ หรือการเบรค หยุดรถก็ไม่สามารถทำได้ แม่นยำร้อยเปอร์เซ็นต์ ยิ่งมีโอกาสพลาดสูงมาก
         ทั้งนี้ก็คงจะเป็นเพราะร้านค้าแก๊ส ต้องการที่จะลดต้นทุนการขนส่ง โดยในหนึ่งเที่ยวจะต้องบรรทุกถังแก๊สขึ้นไปให้มากที่สุด  เพื่อประหยัดน้ำมัน แต่นั่น ก็เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากขึ้นด้วย

ซึ่งผู้ที่ต้องแบกรับความเสี่ยงนั้นก็คือ พนักงานส่งแก๊ส และ ผู้ใช้รถใช้ถนนทั่วไป


พาหนะที่ร้านแก๊สนิยมใช้ขนส่งแก๊สให้ลูกค้า

Kawasaki GTO

 อันดับ 1 GTO

ชื่อเต็มๆก็คือ จักรยานยนต์ Kawasaki GTO เป็นโมเดลที่ผลิตออกจำหน่ายในท้องตลาดบ้านเรามากว่า 20 ปีแล้ว ชนิดเครื่องยนต์เป็นเบนซิน 2 จังหวะ เนื่องจากรถรุ่นนี้ถูกออกแบบมาเพื่อให้มีแรงบิดดี มากกว่าที่จะเน้นให้มีความเร็ว จึงถูกนำมาใช้ประโยชน์เรื่องของการบรรทุกของหนักได้ดี โครงสร้างแข็งแรง เครื่องยนต์ทนทาน จึงเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับงานหนักอย่างการบรรทุกแก๊ส อีกทั้งราคาก็ไม่แพง จึงเป็นรถจักรยานยนต์ยอดนิยมตลอดกาลของร้านแก๊สเมืองไทย
ซาเล้งแบบมีเครื่องยนต์

 อันดับ 2 ซาเล้ง

หรือสามล้อ จะเป็นแบบขับตรงกลาง หรือพ่วงข้างก็ได้ ร้านแก๊สก็นิยมเหมือนกัน แม้จะไม่ปราดเปรียว
ว่องไวเหมือน GTO แต่ก็มีดีที่บรรทุกถังแก๊สไปส่งได้คราวละมากๆ อาจจะได้ถึง 6 ถัง และยิ่งเหมาะ
ที่จะขนส่งถังขนาดใหญ่ 48 กก.จะมีข้อด้อยก็คือไปแในทางแคบ และทางที่รถติดมากๆก็ไม่ดี


 อันดับ 3 มอเตอร์ไซค์รุ่นอื่นๆ

ปัจจุบันรถมอเตอร์ไซค์ในตลาดบ้านเรามุ่งทำแบบ 4 จังหวะเป็นหลัก เพราะมีมลพิษน้อยกว่า ทั้งยังกินน้ำมันน้อยกว่าแบบ 2จังหวะ  ติดอยู่แค่ตรงว่าแบบที่ทำออกมาจะเป็นแบบครอบครัว หรือแบบผู้หญิงใช้มากกว่า การนำมาดัดแปลงเป็นรถส่งแก๊สก็ทำได้ แต่อาจไม่แข็งแรงบึกบึนเหมือนแบบรถผู้ชายเช่น GTO ก็พอใช้ได้ ในเรื่องการประหยัด ซ่อมบำรุงง่าย

อันดับ 4 รถบรรทุกเล็ก

คือรถบรรทุกสี่ล้อเล็ก ที่มักเรียกกันว่ารถกะป้อ หรือรถซูบารุ(จริงๆแล้วไม่ใช่ยี่ห้อซูบารุ แต่เป็นยี่ห้อไดฮัทสุ และซูซูกิ)
นิยมใช้วิ่งส่งแก๊สกันพอสมควร เพราะบรรทุกได้มาก นับสิบถัง

 อันดับ 5 รถกระบะ

รถปิคอัพ ทั่วๆไป มีมาใช้ส่งแก๊สให้ลูกค้าที่เป็นประเภทองค์กร หรือร้านอาหารที่ใช้แก๊สมากๆ

เหตุผลสำคัญที่ร้านแก๊สจะเลือกใช้พาหนะใดไปส่งแก๊สให้ลูกค้า

1 ความสะดวก
2 ความประหยัด
3 ความรวดเร็ว


          รู้แล้วก็น่าตกใจ เพราะไม่มีเรื่องความปลอดภัยอยู่ใน List เลย ร้านแก๊สทั่วไปจึงเลือกใช้มอเตอร์ไซค์บรรทุกถังแก๊สส่งให้ลูกค้า และต้องบรรทุกให้มากๆเพื่อความคุ้มค่า การซ่อมบำรุงให้มีสภาพดีก็มีอย่างไม่บ่อยนัก เพราะการทำงานที่ต่อเนื่องไม่มีการหยุดให้บริการ ส่งผลให้มอเตอร์ไซค์ส่งแก๊สส่วนใหญ่ มีสภาพน่าหวั่นเกรง จะเกิดเรื่องหวาดเสียวได้ทุกเมื่อ

        การที่ค่าน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นทุกวัน ยิ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเรื่องมารตฐานความปลอดภัยของการขนส่งแก๊ส

Lpg transfered vehicle in thailand

      เพราะร้านแก๊สก็พยายามปรับลดต้นทุนในทุกด้าน เพื่อสู้กับต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ของค่าพลังงาน ค่าแรง ค่าใช้จ่ายจิปาถะ

การที่เราจะหวังว่า ทางร้านจะเห็นแก่ความปลอดภัยเป็นสำคัญ

คงจะยังห่างไกลอยู่ 

 แต่นั่นก็ต้องเป็นสิ่งที่เราต้องมุ่งไป เพื่อความปลอดภัยของสังคมร่วมกัน

  ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2555

ถังแก๊สหุงต้มใช้ในที่ต่างๆ

        ในไม่ช้าการลอยตัวราคาแก๊ส คงจะได้เห็นกันชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ

         จากในวันนี้ ราคาแก๊สตามปั๊มแก๊สที่เติมรถยนต์ก็ปรับขึ้นไปแล้ว
แก๊สที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมก็ปรับขึ้นไปแล้ว คงเหลือแต่แก๊สที่ใช้ในภาค
ครัวเรือนเท่านั้น ที่ยังตรึงราคาอยู่ ราคาแก๊สที่ใช้ในบ้านจึงเป็น แก๊สที่มี
ราคาถูกที่สุด
       เหตุที่ถูกก็เพราะรัฐเอารายได้ที่เก็บจากค่าน้ำมัน ทั้งเบนซิล และดีเซล
มาจ่ายแทนให้
       เพื่อให้ค่าใช้จ่ายเรื่องการทำอาหาร ไม่สูงเกินไปนัก ผู้ที่เติมน้ำมันจึง
นับว่ารับภาระการชดเชยราคาค่าแก๊สอยู่ด้วย

       แต่เมื่อรถยนต์หันมาติดแก๊ส lpg กันมากขึ้น การเอาแก๊สจากครัวเรือนมาใช้เพื่อ
การขนส่งจึงมีมากขึ้น ซึ่งออกจะผิดวัตถุประสงค์ แต่ก็ยังไม่มีทางออกที่เป็นที่ยอมรับ
เราจะมาดูว่า ถังแก๊สที่เอาไว้สำหรับใช้ในครัว ถูกเอาไปใช้ที่ไหนอีกบ้าง

ตามโรงงานต่างๆ ใช้กันมากกับรถยก หรือ Folk Lift

ใช้ในรถยนต์ที่เอาไปดัดแปลงเอง ความจริงน่าจะใช้ถังแบบใช้กับรถยนต์โดยเฉพาะจะดีกว่านะ



ในเรือก็ลงไปใช้ได้ ดัดแปลงให้ใช้แก๊ส เพราะสู้ราคาน้ำมันไม่ไหว



อันนี้เป็นพาหนะเอนกประสงค์ น่านับถือสำหรับความคิดสร้างสรร

ใช้ฉีดพ่นยาปราบศัตรูพืช สูบน้ำเข้านา



เครื่องปั่นไฟใช้แก๊สหุงต้มเป็นพลังงาน ไม่ต้องง้อน้ำม้น โครงการของเด็กวอศ.ในจ.นราธิวาส
เครื่องปั่นไฟ ผลงานนักศึกษา


ส่วนรายนี้ไม่น่าสนับสนุนซักเท่าไหร่ เพราะปกติก็อันตรายอยู่แล้ว ติดแก๊สเข้าไปอีก ก็ยิ่งน่าหวาดเสียว

มอเตอร์ไซค์ติดแก๊ส ไม่รู้จะประหยัดเท่าไหร่ แต่อันตรายมีมากขึ้นแน่

คันนี้ท่าทางจะใช้ความเร็วได้สูงนะ ระวังหน่อยก็ดี

     อย่างไรก็ตาม ก็ต้องไม่ละเลยเรื่องความปลอดภัย เพราะหากจะมุ่งเน้นความประหยัดกันเกินไป ผลเสีย และความเสี่ยงอาจมีมากจนไม่คุ้มค่า

    อีกอย่างถังแก๊สที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในครัว อาจไม่แข็งแรงพอ สำหรับการใช้งานไปกับยานพาหนะ ที่มีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา การกระทบ

กระแทก หรืออุบัติเหตุชนกัน เป็นสิ่งที่ไม่อาจคาดเดา กฏหมายจึงได้ห้ามไว้ 

     หวังว่าในอนาคต น่าจะมีทางออกที่ทุกคนสามารถได้ประโยชน์ร่วมกันได้ เพื่อความปลอดภัยของทุกคน.


ศูนย์ข้อมูลแก๊สหุงต้ม
การเลือกซื้อ วิธีใช้

วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555

การตรวจสอบแก๊สรั่ว

   เมื่อมีความสงสัย

 

ว่าอุปกรณ์ หรือถังแก๊สที่ใช้งานอยู่ มีการขัดข้อง และมีแก๊สรั่วซึมหรือไม่ จำเป็นที่จะ ต้องตรวจสอบเบื้องต้น ด้วยความระมัดระวัง

เพราะ แก๊สหุงต้ม หรือแก๊ส LPG เป็นก๊าซที่มีความไวไฟสูง หากมีปริมาณ และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมก็จะติดไฟได้ง่าย

ในทางตรงข้าม หากมีปริมาณ และสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ก็จะติดไฟได้ยากเช่นกัน

Note:
ข้อมูลนี้ อาจไม่ครบถ้วนตามหลักทางเคมี แต่จะอธิบายให้ง่ายๆ เพื่อการทำความเข้าใจของคนทั่วไป

      เมื่อแก๊สรั่วออกมาจากจุดใดก็ตาม ฟุ้งอยู่ในอากาศ ในกรณีที่ไม่ได้ใช้งานอยู่ เตาปิดอยู่ ไม่มีเปลวไฟ และ ประกายไฟใดๆ บริเวณไกล้เคียง หากจุดที่วางถังแก๊สนั้น มีอากาศถ่ายเทได้ เช่นมีช่องระบายอากาศ อยู่ที่ผนัง หรืออยู่หลังบ้าน เป็นครัวแบบเปิดโล่ง มีลมพัดผ่านได้่ หากการรั่วซึมมีไม่มาก ก็จะไม่เกิดการระเบิด ติดไฟ แก๊สอาจซึมออกมาเรื่อยๆ แล้วระเหยไปตามลม จนกว่าจะหมดถัง

    แต่จะเป็นอันตรายอย่างยิ่ง หากเป็นครัวที่ปิดทึบ แม้จะมีช่องระบายอากาศ อยู่ที่ผนัง ก็อาจไม่ช่วยเท่าไหร่ เพราะแก๊ส ที่รั่วซึมออกมา จะมีน้ำหนักมากกว่าอากาศ ทำให้ลอยตัวลงต่ำเรี่ยกับพื้น มันจะสะสมอยู่บริเวณนั้นมากขึ้นเรื่อยๆ หากอาศบริเวณนั้นไม่สามารถถ่ายเทไปที่อื่นได้ แต่จะไม่เกิดอะไรจนกว่าจะมีเปลวไฟ ประกายไฟ เกิดขึ้นแม้เพียงเล็กน้อย การระเบิดจะมีแรงดันสูงมาก เพราะแก๊สที่ติดไฟ จะมีการขยายตัวเป็น 100เท่า เพราะฉะนั้น สิ่งที่สำคัญคือ อย่าให้มีประกายไฟ

เรื่องที่ควรทำคือ

1. หาทางระบายอากาศบริเวณนั้นออกไป ให้มากที่สุด ด้วยวิธีที่จะไม่ให้เกิดประกายไฟ
โดยไม่ยุ่งกับเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกขนิด

2. รีบปิดวาวล์แก๊ส ที่ถังให้สนิท เพื่อหยุดการปล่อยแก๊สออกมาเพิ่มอีก หากปิดวาวล์แล้ว
ยังมีแก๊สออกมาได้อีก เนื่องจากวาวล์ชำรุด หรือออกมาจากจุดอื่น ก็เป็นอันตรายอีกระดับหนึ่ง
ที่เราแก้ไขเองไม่ได้ ต้องเรียกกู้ภัยมาช่วย แต่เราทำได้เบื้องต้นคือ ย้ายเอาถังแก๊สใบนั้นออกจากตัวบ้าน ไปไว้กลางแจ้ง แล้วถอยออกมาให้ห่าง

3. เรียกคนที่มีความรู้มาช่วย เช่นโทรไปร้านแก๊สที่ท่านใช้บริการอยู่ หากจำเบอร์ไม่ได้ ให้เรียกอาสาสมัคร กู้ภัย ในพื้นที่ของท่าน คนเหล่านี้ได้รับการอบรมทางด้านนี้มาแล้ว สามารถที่จะให้คำแนะนำ และมาช่วยเหลือท่านได้

การป้องกัน

สำคัญมาก เพราะเมื่อเกิดเหตุอาจจะแก้ไขไม่ทัน ควรเตรียมการไว้ก่อนดีกว่า

1. การเลือกใช้บริการกับร้านแก๊สที่มีความพร้อมในการจัดหาถังที่มีสภาพสมบรูณ์ และมีคนมาช่วยดูแลท่านได้ ในยามฉุกเฉิน

2. การใช้งานในสถานที่ๆเหมาะสม ยึดเอาความปลอดภัยเป็นอันดับแรก อย่าคำนึงถึงแต่ความสวยงาม และความสะดวกเกินไป

3. เตรียมอุปกรณ์ดับเพลิงไว้ในที่หยิบฉวยได้สะดวก ซักซ้อมกับคนในบ้านด้วย ซึ่งส่วนใหญ่อาจไม่คุ้นเคย เพราะเก็บไว้ในที่มิดชิดเป็นเวลานาน บางคนอาจใช้ไม่เป็น

4. ฝึกนิสัยการใช้งานเตาแก๊ส ให้ใช้อย่างระมัดระวัง ไม่ลืมปิดแก๊ส อาจจะเขียนป้ายเตือนตัวเองไว้ไกล้ๆ

5. ตรวจสอบอุปกรณ์ทุกชิ้นที่เชื่อมต่อกันอยู่เสมอ ทั้งเตา สายแก๊ส หัวปรับ ถัง โดยใช้น้ำสบู่เพื่อหารอยรั่ว ในจุดต่างๆ

6. เตือนคนในบ้านให้ช่วยกันดูแล และให้ความรู้กับทุกคน เพื่อการใช้งานที่ปลอดภัย

ศูนย์ข้อมูลแก๊สหุงต้ม
การเลือกซื้อ และวิธีใช้

วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2555

น้ำหนักแก๊ส

แก๊สเต็มถังหรือไม่

 ให้คำแนะนำในการใช็แก๊สหุงต้ม,การเลือกซื้อถังแก๊ส

เคยใหม? รู้สึกผิดสังเกตุว่าแก๊สที่ใช้ในครัวเดือนนี้ถึงหมดเร็วกว่าเมื่อก่อน
คุณแม่บ้านจะเป็นผู้ที่รู้สึกถึงความผิดปกตินี้ก่อนใคร
เพราะในแต่ละเดือน กิจวัตรของการหุงต้มในครัวจะไม่แตกต่างกันเท่าไหร่ ออกจะซ้ำไปซ้ำมา
ในหลายเรื่องเช่น ต้องทำอาหารในช่วงเวลานี้ ต้องใช้ต้มน้ำทุกๆวัน ยกเว้นบางเดือนที่มีเทศกาล
ไหว้เจ้า อาจต้องใช้แก๊ส ทำขนม ทำของไหว้ อันนี้ไม่ว่ากัน
แต่ถ้าการใช้งานตามปกติ คุณแม่บ้านใช้แก๊สขนาด 15 กก.1ถังได้ยาวนาน ถึงสองเดือน
แล้วเกิดใช้ไปเดือนครึ่งแก๊สหมด ก็ต้องมีความกังวลเป็นธรรมดา ว่าเกิดอะไรขึ้น ถูกโกงน้ำหนักแก๊ส
หรือเปล่า หรือแก๊สรั่ว แล้วเราไม่รู้ ปล่อยให้มีการระเหยไปในอากาศโดยที่เราไม่รู้ตัว
อันนี้จึงเป็นความคลางแคลงใจ ที่ไม่มีผู้ใด สามารถให้ความกระจ่างได้ เพราะหลักฐานต่างๆ
ลอยไปในอากาศแล้ว


ทำความเข้าใจกับน้ำหนักก่อน


น้ำหนักแก๊สที่เราเห็นติดอยู่ที่ข้างถัง เป็นการระบุขนาดบรรจุของถังแก๊สถังนั้น
เช่น 15 กก. 13.5 กก. 7 กก. 4 กก.
คือน้ำหนักของน้ำแก๊ส(แก๊ส LPG ถูกบีบอัดด้วยความเย็นจนมีสภาพจากก๊าซ เป็นของเหลวอยู่ในถัง)

น้ำหนักของถังเปล่า
คือน้ำหนักของเนื้อเหล็ก ที่ประกอบขึ้นมาเป็นรูปร่างของถังแก๊สทรงแคปซูล มีหูจับด้านบน และมีขาตั้ง
ด้านล่าง ถังเปล่าขนนาดบรรจุ 15 กก.จะมีน้ำหนักโดยประมาณอยู่ที่ 16.5-18.0 กก.

น้ำหนักรวมของถังแก๊ส เมื่อบรรจุแก๊สเต็มถังคือ น้ำหนักถัง + น้ำหนักแก๊ส = น้ำหนักรวม

ก็จะได้น้ำหนักโดยประมาณ 31 กก.เศษ แปรผันไปตามน้ำหนักถังเปล่า ที่ไม่ได้เท่ากันทุกถัง
แต่น้ำหนักแก๊สจะต้องตรงแป๊ะ เพราะฉะนั้น หากเอาถังแก๊สที่บรรจุแก๊สเต็มถังมาชั่งน้ำหนัก
บนเครื่องชั่งที่ได้มาตรฐาน แล้วลบออกด้วยน้ำหนักถังเปล่า ก็จะได้น้ำหนักแก๊สที่บรรจุอยู่
หากผลที่ได้ ไม่เท่ากับที่ระบุอยู่บนถังชนิดนั้น ก็หมายความว่าแก๊สถังนั้นไม่ได้มีปริมาณตามที่ได้
ระบุไว้ อันนี้ผู้ใช้สามารถร้องเรียนต่อกรมการค้าภายใน ให้ดำเนินการเอาผิดต่อผู้จำหน่ายได้
เพราะแก๊สหุงต้ม เป็นสินค้าควบคุม ผู้ผลิต และจำหน่ายต้องตรวจสอบคุณภาพ และปริมาณ
ให้ดี ก่อนจะนำออกสู่ผู้บริโภค

ซึ่งในการควบคุมคุณภาพ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ก็มีการออกไปตรวจสอบอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว
ทั้งตามโรงบรรจุแก๊ส และร้านค้าปลีก

อีกกรณีนึง หากน้ำหนักที่ขาดหายไปเกิดจาการรั่วซึมของถังแก๊ส
        หมายความว่า ถังแก๊สบรรจุมาเต็มตามที่ระบุอย่างถูกต้อง แต่ถังแก๊สใบนั้นมีความชำรุด ที่จุดใดจุดหนึ่ง
ซึ่งอาจเล็กมาก จนไม่มีใครสังเกตุพบ เป็นเหตุให้มีแก๊สรั่วซึมออกมาทีละนิด ใช้เวลาหลายวันเป็นผลให้
น้ำหนักแก๊สหายไปส่วนหนึ่ง
หรือ มีการรั่วซึมที่ระบบสายส่งจากถังแก๊ส มายังเตาแก๊ส หรือรั่วที่บริเวณหัวปรับ
ก็มีความเป็นไปได้ทั้งสิ้น กรณีนี้ต้องใช้ความละเอียดรอบคอบ ในการตรวจสอบ เพราะแก๊สที่รั่วซึมออกมาจากถัง
แม้จะมีปริมาณไม่มาก แต่คุณสมบัติการติดไฟ ก็ยังอยู่

เมื่อสงสัยว่าอาจเป็นแก๊สรั่ว

การตรวจสอบหาแก๊สรั่ว

เนื่องจากเป็นสิ่งที่มีอันตราย จึงควรเคลียร์พื้นที่โดยรอบ

ไม่ให้มีประกายไฟ และให้อากาศถ่ายเท

อย่าให้มีสภาพเป็นห้องปิดทึบโดยเด็ดขาด

ปิดวาวล์ที่ถังแก๊สให้สนิท หยุดการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด


             สังเกตุว่ามีกลิ่นเหม็นของก๊าซ อยู่ในบริเวณนั้นหรือไม่ หากมีกลิ่นแรง แสดงว่ามีแก๊สรั่วออกมามากแล้ว ให้ระมัดระวังอย่างที่สุด เร่งระบายอากาศออกจากตรงนั้นโดยเร็วที่สุด แต่อย่าเปิดสวิทส์พัดลม แอร์  และเครื่องดูดอากาศใดๆที่ใช้ไฟฟ้า ให้ใช้การพัด โดยเอาอะไรโบกแทน


         เรียกผู้ที่ความรู้ในการจัดการกับแก๊ส อาจจะเป็นร้านแก๊สที่เราซื้อก็ได้ โทรไปแจ้งว่าเกิดอะไรขึ้น ให้ส่งคนมาแก้ไขยังบ้านของเรา

          ยังมีการเตรียมการ และการจัดการในกรณีฉุกเฉิน หากเกิดแก๊สรั่ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องเตรียมการไว้แต่เนิ่นๆ จะนำมากล่าวในตอนต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2555

แก๊สปิคนิค

แก๊สปิคนิค 

gas lpg picnic แก๊สหุงต้ม การเลือกซื้อ วิธีใช้

ปิคนิค รู้จักกันดีในกลุ่มคนใช้แก๊สถังขนาดเล็กเพื่อการค้าขายเล็กๆ หรือครอบครัวขนาดเล็ก
     คือถังแก๊สขนาดกระทัดรัด หอบหิ้ว พกพาไปได้ทุกที่ น้ำหนักถังรวมแก๊สไม่เกิน11 กิโลกรัม เป็นที่นิยมกันมานาน ถังแก๊สปิคนิค ความจริงปิคนิคเป็นชื่อยี่ห้อ ที่เป็นผู้นำในการจำหน่ายแก๊สหุงต้มขนาด 4 กก.

        เมื่อได้รับความนิยมจากผู้ใช้เพิ่มขึ้นมาก ยี่ห้ออื่นๆ จึงทำถังแก๊ส ขนาด 4 กก.ออกมาจำหน่ายด้วย ทั้ง ปตท. เวิลดิ์แก๊ส สยามแก๊ส ยูนิคแก๊ส วีทูแก๊ส และมีอีกหลายแบรนด์ ที่ไม่แพร่หลายมากนัก จนไม่อาจระบุได้หมดทุกแบรนด์

ถังขนาด 4 กก.ของปตท.ใช้สีเขียว

 

ถังขนาด 4 กก.ของเวิลด์แก๊ส ปัจจุบันใช้สีน้ำเงินเข้ม
ยี่ห้อยูนิคแก๊ส ก็มีถัง 4กก.สีส้มเหมือนกัน
สยามแก๊สขนาด 4 กก.

 

เมื่อคิดจะใช้ถังปิคนิค

      หากท่านตัดสินใจแล้วว่า จะหาซื้อถังแก๊สขนาด 4 กก.(แก๊สปิคนิค)มาใช้งาน เพราะมีความเหมาะสมกับท่านที่สุด ก็ควรศึกษาข้อมูลที่ควรรู้ดังต่อไปนี้


   ถังแก๊สปิคนิค ขนาด 4 กก. ตัวถัง สีส้ม ตัวหนังสือสีดำ ที่บริเวณคอถังมีตัวอักษรภาษาอังกฤษนูนขึ้นมา อ่านว่า PICNIC และที่หูถัง (ตรงที่เป็นหูหิ้ว) มีตัวอักษรภาษาไทย บอกรายละเอียด และบอกไว้ว่า ถังนี้เป็นทรัพย์สินของ บริษัทปิคนิค ไว้ชัดเจน

   ราคาในปัจจุบัน(ขณะเขียนบทความนี้)อยู่ประมาณ 1,200 บาทพร้อมชุดเตาบรรจุแก๊สพร้อมใช้
(ราคานี้อาจบวกลบตามสภาพพื้นที่ และระยะทาง)

     อย่างไรก็ตาม ในแต่ละภูมิภาค ก็อาจมีความนิยมในยี่ห้อที่แตกต่างกันไป เช่นในบางพื้นที่อาจไม่สามารถหาซื้อถังยี่ห้อปิคนิคได้ แต่มียี่ห้ออื่นซึ่งมีความพร้อมกว่าในการให้บริการในพื้นที่นั้น
เช่นเขตท่าเรือ ชายฝั่งภาคตะวันออก อาจเป็นพื้นที่ให้บริการของ สยามแก๊ส และยูนิคแก๊ส
ก็จะมีความสะดวกในการใช้บริการกับยี่ห้อดังกล่าวมากกว่า



สิ่งนี้ทำให้เกิดปัญหาใหม่ขึ้นมา นอกเหนือจากปัญหาในการใช้งานตามปกติ

    คือ ปัญหาในการเปลี่ยนถัง ดังเช่นที่กล่าวมา ในแต่ละพื้นที่ บริษัทผู้ให้บริการ อาจจะมีความเข้มแข็ง
ในการให้บริการไม่เท่ากัน
    เช่นในพื้นที่กรุงเทพฯ ยี่ห้อปิคนิค เป็นยี่ห้อยอดนิยม มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ลูกค้าสามารถไปใช้บริการเปลี่ยนแก๊ส กับร้านใดก็ได้ เพราะยี่ห้อนี้มีแทบทุกร้าน ในขณะเดียวกัน ยี่ห้อสยามแก๊ส ก็เป็นที่นิยมในเขตจังหวัดสมุทรสาคร และพื้นที่ไกล้เคียง เพราะอยู่ไกล้ ที่ตั้งของคลังใหญ่ของบริษัท มีสินค้ารองรับการใช้งานในพื้นที่อย่างเต็มที่ คราวนี้หากครอบครัวหนึ่งซึ่งใช้ถังแก๊สของสยามแก๊ส แต่ต้องโยกย้ายที่อยู่อาศัยจากเขต จังหวัดสมุทรสาคร เข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ ถังแก๊สยี่ห้อสยามแก๊ส ที่เขาเอามาด้วย ก็จะเกิดปัญหาในการเปลี่ยนแก๊สทันที เพราะร้านแก๊สส่วนมากในกรุงเทพฯ ไม่มีถังขนาด 4 กก.ของสยามแก๊สให้บริการ จะมีเป็นบางร้านเท่านั้น

    เขาอาจจำเป็นต้องซื้อถังของปิคนิคเพิ่มขึ้นอีกถัง ถ้าต้องการจะใช้บริการในท้องที่ใหม่นี้
เพราะถังคนละยี่ห้อ ไม่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ ด้วยเหตุผลหลายข้อ คืออาจจะมีราคาซื้อขาย
ที่ไม่เท่ากัน อาจจะมีการดูแลรับผิดชอบต่อผู้ใช้ไม่เท่ากัน เช่นบางบริษัทอาจไม่มีความมั่นคง
เทียบเท่ากัน ลูกค้าจึงอาจไม่ได้รับการดูแล หากยี่ห้อที่ใช่อยู่เกิดปัญหา หรือเลิกกิจการไป

    ดังนั้นการเลือกซื้อถังแก๊สของยี่ห้อไหน ก็ควรดูหลายๆด้าน เพราะถ้าเลือกซื้อเพราะราคาต่ำกว่ายี่ห้ออื่น ก็อาจเสี่ยงต่อความไม่แน่นอน ในการใช้งาน การแลกเปลี่ยนถัง และการดูแลของบริษัทแม่
ควรเลือกบริษัทผู้ผลิต ที่มีความมั่นคง ดูแลรับผิดชอบต่อลูกค้า


การใช้งานให้ปลอดภัย

    นอกจากการดูสภาพภายนอกของถัง ที่จะต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายแล้ว อุปกรณ์ต่อพ่วง ก็ต้องดูแล
ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยด้วย
   เพราะถังแก๊สชนิดนี้ ไม่มีหัวปรับความดัน จากถังไปสู่เตา พูดง่ายๆคือ ถังแบบนี้"ต่อตรง" เพราะแรงดัน
ของแก๊ส มีไม่มากเท่ากับถังใหญ่ๆ แต่ก็ไม่ควรมองข้ามความปลอดภัย การใช้งานที่ต่อเนื่อง และยาวนาน เป็นผลทำให้เกิดความร้อนสูงบริเวณใต้เตาได้ ซึ่งก็คือถังแก๊สนั่นเอง การใช้งานที่เหมาะสม สำหรับเตาแก๊สชนิดนี้ คือการใช้งานที่ไม่หนักเกินไป หากคุณมีความจำเป็นในการใช้งานนานๆ ต่อเนื่อง และ เป็นประจำ ซึ่งทำให้เกิดความร้อนสะสมมากๆ น่าจะลองเลือกใช้เตาขนาดใหญ่กว่า ที่มีการต่อสายมาจากถังแก๊ส ซึ่งตั้งห่างออกไป จะปลอดภัยกว่า และคุ้มค่ากว่า เพราะอัตราค่าแก๊ส ในถังใหญ่ จะถูกกว่าถังเล็ก แต่หากใช้เตาใหญ่ไม่ได้ เพราะต้องเคลื่อนย้ายที่ใช้งานบ่อยๆ หรือเป็นรถเข็น ก็ควร ดูแล
เรื่องการระบายความร้อนให้ดี อย่าให้เกิดความร้อนสะสมที่หัววาวล์ และถังแก๊ส อาจเกิดระเบิดขึ้นได้

สภาพถัง



        หากเลือกได้ ทุกคนอยากเลือกถังที่สภาพดี ไม่มีรอยถลอก ไม่ขึ้นสนิม ไม่เห็นรอยผุกร่อน

แต่ในความเป็นจริง มักหาได้ยาก สิ่งที่จะรับประกันได้ว่า เราจะได้ถังที่ไม่เสื่อมสภาพ ก็คือการไม่แลกเปลี่ยนถังของเรากับใครๆ เมื่อซื้อถังใบใหม่
หากใช้แก๊สหมดแล้ว ก็ให้ฝากถังไปอัดแก๊ส จะได้ไม่ต้องเสียถังใหม่ของเราไป
ถ้าไม่สามารถรอได้ ต้องเปลี่ยนเพื่อมาใช้งานทันที ก็ให้นำถังของเราไปที่ร้านแก๊ส แล้วพูดคุยกับทางร้าน(ที่พอคุยได้) ให้เลือกถังที่มีสภาพดีไกล้เคียงกันเปลี่ยนให้ แต่ก็ยากเพราะทั้งร้าน อาจไม่มีถังสภาพดีเลยก็ได้

เพราะถังชนิดนี้ ผู้ใช้บางรายไม่มีการดูแลรักษา ทำให้ถังเสื่อมสภาพได้โดยง่าย ทั้งการไม่รักษาความสะอาด การตั้งวางถังในที่ชื้นแฉะ การเคลื่อนย้ายโดยไม่ระมัดระวัง มีการกระแทก ขูดขีดอยู่ตลอด ถังสภาพใหม่จึง เสียสภาพอย่างรวดเร็ว เมื่อหมุนเวียนเปลี่ยนมือผู้ใช้ ดังนั้นถังเปลี่ยนในระบบจึงมีแต่ถังสภาพเก่าโดยไม่ต้องสงสัย

      ข้อมูลที่น่าตกใจคือการบำรุงรักษา และการดูแลจากบริษัทผู้ผลิตของถังชนิดนี้มีน้อย และค่าใช้จ่ายสูงกว่าการดูแลถังขนาดอื่นๆ ทำให้ถังที่มีในตลาด และตามร้านแก๊สที่ให้บริการ เต็มไปด้วยถังที่สภาพแย่ ตกค้างไม่ได้เข้าสู่กระบวนการ ซ่อมบำรุงจำนวนมาก

    การใช้งานถังชนิดนี้จึงต้องให้ความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ และเตรียมความพร้อมไว้หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน เช่นอุปกรณ์ดับเพลิง ใช้งานถังแก๊สให้ห่างจากแหล่งเชื้อเพลิง บริเวณที่ประกอบอาหาร ไม่ให้มีเศษกระดาษ เศษผ้ารกรุงรัง มีคนเฝ้าดู และควบคุมตลอดเวลาที่เปิดใช้งาน เท่านี้ ก็จะสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย

ราคาถังแก๊สปิคนิคถังใหม่บรรจุแก๊สแล้ว

ถ้าเป็นยี่ห้อ "ปิคนิค" อยู่ที่ประมาณ 1,200 บาท
ถ้าเป็นของปตท. รุ่น"จิ๋วแจ๋ว" จะอยู่ประมาณ 1,300 บาท
และยี่ห้ออื่นๆเช่น เวิลด์,สยาม,ยูนิค จะประมาณ 900-1,000 บาท
ยังไม่รวม เตาแบบวางบนถังที่จะมีราคาประมาณ 200-250 บาท


เตาแก๊สแบบที่ทำออกมาใช้กับถังปิคนิคโดยเฉพาะ

ราคาเตา 780 บาทรวมถัง 1800 บาท

เตาแก๊สแบบใช้กับแก๊สกระป๋อง




ให้คำแนะนำในการใช็แก๊สหุงต้ม,การเลือกซื้อถังแก๊ส

วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

ทำไมร้านแก๊สมีแต่ถังเก่าๆ

ทำไมร้านแก๊สแถวบ้านมีแต่ถังเก่าๆ

ศูนย์ข้อมูลแก๊สหุงต้ม การเลือกซื้อ วิธีใช้























         เรื่องสภาพของถังแก๊ส แต่เดิมก็เป็นถังใหม่ทุกใบ แต่เมื่อผ่านการใช้งาน ผ่านการขนส่ง เคลื่อนย้ายไปตามที่ต่างๆ
หากทำด้วยความระมัดระวัง ก็จะไม่มีความเสียหาย ในความเป็นจริง การเคลื่อนย้าย แต่ละครั้ง ถังแก๊สไม่ค่อยได้รับการดูแลมากนัก เจอทั้งการโยน การกระแทก และการเสียดสีกันในกระบะบรรทุก  ทำให้พื้นผิว เป็นรอย สีถลอกจนเห็นเนื้อเหล็ก มีรอยบุบทั่วไปทั้งใบ

       การใช้งานของผู้ใช้ก็มีส่วน ทำให้สภาพถังดูทรุดโทรมไม่น่าใช้

        อย่างคราบน้ำมันจากการทอด ที่กระเด็นมาติดอยู่บนถัง ทำให้สีเคลือบบนถังเกิดการพุพอง หลุดร่อน
การวางถังแก๊สไว้บนพื้นที่เปียกแฉะ ความชื้นจะทำให้เนื้อเหล็กตั้งแต่ขาถัง จนถึงก้นถังเกิดการ
ผุกร่อน ส่งผลต่อความแข็งแรงโดยรวมของถังในการรับแรงดันจากภายใน

หากพูดในมุมของร้านแก๊ส ก็จะมีหลักในการเลือกถังเปลี่ยนให้กับลูกค้าแต่ละรายเหมือนกัน


       ร้านจำหน่ายแก๊สหุงต้ม มีต้นทุนในการซื้อถังมา Stock ไว้ในร้าน เพื่อรองรับการเปลี่ยนให้กับลูกค้าในแต่ละบ้านเป็นจำนวน 2-3 เท่าของจำนวนลูกค้าทั้งหมดของร้าน ในแต่ละวันจึงมีถังเข้าออกมากมาย  ทั้งถังเปล่ารอการนำไปบรรจุ ถังบรรจุแล้ว รอการส่งให้ลูกค้า ถังใหม่เอี่ยมจากโรงงานเพื่อขายทั้งถังให้ลูกค้ารายใหม่
      ในร้านจึงมีทั้งถังเก่า ถังใหม่ หมุนเวียนกันอยู่ตลอด ถังที่สร้างปัญหาให้ร้านพอสมควรคือถังสภาพเก่า อาจจะเป็นสนิม สีถลอก มีรอบบุบ มีคราบสกปรก ล้างไม่ออก วาวล์ปิดเปิดหลวม หรือแน่นเกินไป
ถังแบบนี้ ไม่เป็นที่ต้องการของลูกค้าแน่นอน หากในร้านมีถังสภาพแบบนี้มากๆ ภาพพจน์ของร้านนั้นก็
จะดูย่ำแย่ในสายตาลูกค้า ถ้าในย่านนั้นมีร้านอื่นเป็นทางเลือก ลูกค้าก็คงหนีหมด ทางร้านจึงต้องมีการ
แลกถังใหม่กับโรงบรรจุแก๊สอยู่เสมอ ซึ่งก็มีค่าใช้จ่ายไม่น้อยทีเดียว เป็นต้นทุนการดำเนินการส่วนหนึ่ง
ของร้านแก๊ส

          ที่มาของถังสภาพเก่าก็มาจากการใช้งานของผู้ใช้บางราย ที่มีสภาพการใช้งานที่ไม่เหมาะสม เช่นทำเศษอาหาร หรือน้ำมันพืช หกเลอะเทอะถังแก๊ส ทำให้พื้นผิวถังแก๊สเสียหาย สีลอกเพราะน้ำมันและคราบสกปรก
           การวางถังแก๊สบนพื้นเปียก เฉอะแฉะตลอดเวลา ทำให้ก้นถังเป็นสนิม ทำสารเคมีที่เป็นกรด ด่าง รดลงบนถัง พวกน้ำปลาก็ทำให้เกิดสนิมได้
          การกระแทกระหว่างการขนส่ง อาจทำให้ถังบุบ สีเคลือบถลอก ก็เกิดสนิมได้ง่ายอีก

เมื่อไม่สามารถหลีกเลี่ยงเหตุปัจจัยที่ทำให้ถังเสื่อมสภาพไปได้ ทางร้านจึงจัดโซน ลูกค้าที่จะได้รับถังสภาพต่างๆ
ไปตามลักษณะนิสัยการใช้ เช่น

ZONE A ลูกค้าตามบ้านทั่วไป มีที่วางถังอย่างดี มิดชิดอยู่ในตู้ พื้นไม่เปียก ก็จะได้รับถังที่สภาพดี สะอาดที่สุด

ZONE B ลูกค้าตามบ้านทั่วไป มีที่วางถังค่อนข้างแย่ ไม่รักษาความสะอาด ลูกค้ากลุ่มนี้จะได้รับถังสภาพกลาง ถึงเก่า

ZONE C ลูกค้าที่เป็นร้านอาหารตามสั่ง มีโอกาสสร้างความเสียหายแก่ถังแก๊สได้มาก ทั้งจากเศษอาหาร น้ำมัน ความชื้น จะได้รับถังสภาาพเก่าถึงกลางเท่านั้น เพราะลูกค้าประเภทนี้ ไม่ค่อยดูแลรักษาถังแก๊ส ทางร้านจึงไม่อยากให้ถังใหม่ไป

ZONE D ลูกค้าประเภทกิจการ ใช้ถังใหญ่ 48 กก.เป็นส่วนมาก  บางทีก็มีถัง 15 กก.บ้าง มักจะนำไปใช้กับรถยก ,โฟลค์ลิฟท์ แม้จะไม่ค่อยดูแลรักษาถัง แต่ก็ไม่เกี่ยงสภาพถังที่ทางร้านส่งให้ ก็จะใช้ถังหมุนเวียนสภาพทั่วๆไป

ZONE E ลูกค้าประเภทกิจการที่มักจะทำให้ถังแก๊สเกิดความเสื่อมโทรมมากกว่าปกติ เช่นช่างเชื่อมเหล็ก ที่ใช้แก๊สร่วมกับอ๊อคซิเจน ต่อหัวเชื่อม ตัดเหล็ก มักทำให้สภาพภายนอกของถังเกิดรอยขูดขีดลูกค้าประเภทนี้อาจถูกปฏิเสธการเปลี่ยนถังจากทางร้านได้ อาจให้ฝากเติม

ZONE F กลุ่มลูกค้าขาจร ลูกค้ากลุ่มนี้ไม่ซื้อกับร้านใดร้านหนึ่งประจำ ร้านแก๊สไม่อยากให้ถังใหม่ไป เพราะ รู้ดีว่าลูกค้ารายนี้อาจไม่กลับมาซื้ออีก จึงมักให้ถังสภาพกลางๆถึงเก่าไป

        ลูกค้าที่ต้องการอยู่ในโซนได้ถังใหม่ จึงควรจัดจุดวางถังแก๊สของเราให้มีความเหมาะสม ไม่ตากแดดตากฝน พื้นไม่เฉอะแฉะ อาจจะมีที่รองถังแก๊สแบบมีลูกล้อก็ได้ เมื่อได้ถังใหม่ๆมาแล้วไม่เสียสภาพ ครั้งต่อๆไปก็จะ ได้รับถังใหม่ๆอยู่เสมอ เพราะทางร้านแก๊สคงไม่อยากให้ถังใหม่ๆของทางร้านต้องกลายเป็นถังเก่า ก่อนเวลา อันสมควร อันจะเป็นการลดต้นทุนในการแลกถังเก่ากับโรงบรรจุด้วย

ให้คำแนะนำในการใช็แก๊สหุงต้ม,การเลือกซื้อถังแก๊ส

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

ถังใหม่ ถูกเปลี่ยนเป็น ถังเก่า

ถังใหม่ ถูกเปลี่ยน เป็น ถังเก่า?




     เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับ ผู้ใช้แก๊สตามบ้าน หากคุณอยู่ในระบบการซื้อแก๊สโดยโทรสั่ง
จากร้านแก๊สไกล้บ้าน มีพนักงานมาส่งที่บ้าน เอาถังที่มีแก๊สมาเปลี่ยนเอาถังเปล่าของคุณไป
ความกังวลว่า ถังแก๊สที่เอามาให้นั้น เป็นถังสภาพเก่า ยิ่งถังของเราสภาพใหม่เอี่ยม และเพิ่งซื้อมา
ได้ไม่นาน เวลาถูกเปลี่ยน กลับได้ถังสภาพไม่ดีเท่ากับถังเดิม

     เมื่อเปลี่ยนไป 2-3 ครั้ง สภาพของถังก็จะไม่มีความใหม่หลงเหลืออยู่แล้ว ครั้งต่อๆไปถังที่ได้มาก็จะสภาพ กลางเก่ากลางใหม่ จนถึงเก่า หรือแย่กว่านั้น ก็เอาถังยี่ห้ออื่นมาเปลี่ยนให้

    เช่นเราใช้ถังยี่ห้อ ปตท. แต่พนักงานเอาถังแก๊สยี่ห้อ ยูนิคแก๊ส มาเปลี่ยนให้ เมื่อสอบถามก็ได้รับ
คำอธิบายว่า ถังยี่ห้อ ปตท.ของทางร้านหมด จึงเอายี่ห้ออื่นมาเปลี่ยนใช้ไปก่อน เมื่อใช้หมดแล้ว
จะนำถัง ยี่ห้อ ปตท.มาเปลี่ยนคืนให้
    เหตุการณ์แบบนี้ถ้าทางร้านนำถังมาเปลี่ยนคืนในครั้งต่อไปจริง ก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่หลายคนกลับเจอการละเลยของทางร้าน ไม่เปลี่ยนยี่ห้อของเราคืนให้  ถามไปก็อ้างว่าไม่มีหลักฐาน เด็กคนที่เคยส่งให้ลาออกไปแล้ว ทางร้านไม่รับรู้การกระทำ
        กลายเป็นลูกค้าอย่างเราต้องเสียเปรียบทุกอย่าง สภาพเช่นนี้ทำให้มีการเสียความรู้สึกกันมามากต่อมากแล้ว

ทีนี้มาดูวิธีการแก้ปัญหาดีกว่า


ไม่อยากได้ถังเก่าๆ
ถังเราใหม่มาก เพิ่งซื้อเลย พอใช้แก๊สหมดถัง ก็ต้องโทรสั่งจากร้านแก๊ส
          บางคนอาศัยเน้นไปกับร้านว่า ถังเราใหม่มาก ช่วยเอาถังใหม่ๆมาส่งด้วยนะ(ขอร้อง)
ก็อาจได้ผล ทางร้านอาจจะเชื่อว่าถังเราใหม่มากจริงๆ ก็เอาถังใหม่ๆมาเปลี่ยนให้ Happyดี
          แต่จะแน่ใจอย่างไร ว่าวิธีนี้จะได้ผลทุกครั้งไป ซักวันหนึ่งถ้าเน้นไปแล้ว ยังเอาถังเก่ามาให้
แล้วอ้างนู่น อ้างนี่ เราจะทำยังไงล่ะ

ตัดปัญหา    โดยไม่เปลี่ยนถังเด็ดขาด คือถังเราเพิ่งซื้อมาเนี่ย ใช้หมดถังแล้ว เราไม่เปลี่ยนครับ
เราเอาให้ทางร้านไปเติมแก๊ส แล้วเอามาส่งเราที่บ้าน  วิธีนี้อาจจะยุ่งยากหน่อย คือต้องโทรเรียกร้านแก๊ส ให้มาเอาถังเปล่าที่บ้านเรา หรือเราเอาถังเปล่าไปที่ร้านแก๊สก็ได้ เอาปากกาMarker เขียนชื่อเราที่ถังเลย   ฝากทางร้าน ให้เอาไปอัดแก๊สให้ที เมื่อเสร็จแล้ว ก็เอาไปส่งให้เราที่บ้านด้วย โอเค วิธีนี้ถังใหม่ๆของเรา    ก็จะอยู่กับเราแน่นอน แต่ข้อเสียคือ ต้องมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมา เช่นทางร้านอาจจะคิดค่ารถ ไปรับถังเปล่าที่บ้านเรา บวกเพิ่มมาอีก 10-20 บาท แต่ถ้าเราเอาไปฝากไว้ที่ร้านเอง ก็อาจไม่มีค่าใช้จ่าย  ในส่วนนี้ แต่เราก็ต้องยุ่งยาก ยกขึ้นรถและเสียค่าน้ำมันรถเรา

         มีทางเลือกอีกคือถ้ามีโรงบรรจุก๊าซอยู่ไกล้ๆแถวนั้น เราจะนำถังของเราไปที่โรงบรรจุก็ได้ แต่ก็ไม่สะดวก    เพราะอาจต้องรอคิว เพราะรถบรรทุกของร้านต่างๆมารอบรรจุอาจมีเป็นร้อยถัง ถึงจะได้ราคาถูกกว่า แต่ก็เสียเวลามาก

           นั่นก็เป็นวิธีแก้ปัญหาที่มีหลายคนก็ทำอยู่ เพราะบางคนพอจะมีเวลา แต่กับคนที่สภาพไม่เอื้ออำนวย ต่อการจัดการด้วยวิธีข้างต้น และไม่อยากเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม
   
          การโทรสั่งให้ร้านเอาถังแก๊ส มาเปลี่ยน ก็นับว่าเป็นวิธีที่สะดวกที่สุด และต้องทำใจกับการใช้ถังที่หมุนเวียนกัน สภาพเก่าบ้างใหม่บ้างตามดวง



แต่ก็มีวิธีป้องกัน การเอาถังยี่ห้ออื่นมาเปลี่ยนถังยี่ห้อของเราด้วยคือ

         เมื่อพนักงานส่งแก๊ส นำถังแก๊สยี่ห้ออื่นมาเปลี่ยน โดยให้เหตุผลต่างๆนา แล้วเราไม่มีทางเลือก
เพราะมีความจำเป็นต้องใช้ทำกับข้าว หรือไม่มีร้านอื่นให้สั่งแล้ว ต้องมีการทำหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร  อาจจะเป็นกระดาษเขียนข้อความ ระบุรายละเอียด วันที่ เวลา สิ่งที่เกิดขึ้น โดยให้พนักงานคนนั้นลงชื่อตัวบรรจง  และโทรไปที่ร้านขอชื่อผู้รับเรื่อง ถ้าคุยกับเจ้าของร้านได้ก็ดีเลย ให้เขารับทราบว่าเราทำหนังสือ  เป็นหลักฐานไว้ ทำเป็นสำเนาสองชุด ชุดหนึ่งเก็บไว้ อีกชุดเอาให้ทางร้านเก็บไว้ เวลาแก๊สถังที่เป็นปัญหานี้หมด ก็จะได้มีหลักฐาน ในการเรียกร้องเอาถังยี่ห้อของเราคืน อย่าได้เกรงใจทางร้าน เพราะหากไม่ทำอย่างนี้ ในอนาคต เราจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เพราะถ้าถังยี่ห้อที่ร้านเอามาเปลี่ยนให้เป็นยี่ห้อที่ไม่ได้มาตรฐาน หากเกิดอันตราย เราจะเสียโอกาสในการเรียกร้องความรับผิดชอบจากผู้ผลิต และราคาขายต่อในตลาด บางยี่ห้อมีราคากว่า ถังของเราที่มีราคาสูงอาจโดนเปลี่ยนเป็นยี่ห้อราคาต่ำกว่า
จงจำไว้ว่า เสียเวลาหน่อย เพื่อรักษาผลประโยชน์ของเรา จะไม่เสียใจในภายหลัง

ให้คำแนะนำในการใช็แก๊สหุงต้ม,การเลือกซื้อถังแก๊ส

วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

ราคาก๊าซหุงต้มวันนี้

 

ราคาแก๊ส ควบคุมโดย สำนักงานนโยบาย และแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน

 

คลิก เพื่อดูภาพขนาดใหญ่

 

ข้อมูลจาก

สำนักนโยบายปิโตรเลียม และปิโตรเคมี

ความหมายคือ 

       เอาราคานี้บวกอีกประมาณ 10-20 บาท ก็คือราคาที่ลูกค้าตามบ้านซื้อนั่นหล่ะครับ ขึ้นอยู่กับระยะทาง จากร้านแก๊ส ไปที่บ้านท่าน หรืออาจมีปัจจัยอื่นๆด้วย ถ้าแพงมากกว่านี้ก็อาจจะเข้าข่าย เอาเปรียบผู้บริโภคก็ได้ครับ

 

ให้คำแนะนำในการใช็แก๊สหุงต้ม,การเลือกซื้อถังแก๊ส

การประกอบ ติดตั้งเตาแก๊ส

ตรวจสอบดูว่าคุณมีสิ่งเหล่านี้ครบถ้วนแล้ว

ให้คำแนะนำในการใช็แก๊สหุงต้ม,การเลือกซื้อถังแก๊ส






 เตาแก๊ส






ถังแก๊ส









หัวปรับ







สายยางสำหรับใช้กับแก๊ส LPG






เข็มขัดรัดสายแก๊ส






เมื่อมีสิ่งต่างๆครบแล้ว เครื่องมือที่สำคัญที่ใช้ในการทำงานคือไขควง

นำอุปกรณ์ทั้งหมดมาไว้ในบริเวณที่จะติดตั้งเตาแก๊สและถังแก๊ส


ดูด้านหลังของเตาแก๊สเพื่อหาปลายท่อ สำหรับต่อสายแก๊ส




 





สวมเข็มขัดรัดสายที่ปลายสาย
แล้วเสียบเข้ากับปลายท่อ
รัดเข็มขัดให้แน่น




   ปลายสายอีกด้าน
ต่อเข้ากับหัวปรับ
รัดเข็มขัดให้แน่น




 



ต่อหัวปรับเข้ากับปากท่อถังแก๊ส

 หมุนพวงมาลัยเข้าคือต้อง
หมุนทวนเข็มนาฬิกา
หรือดูตามลูกศร ไปทาง Close
หมุนหัวปรับเข้ากับถังจนแน่นพอดี 




แล้วตรวจดูจุดต่างๆอีกครั้ง



เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยดี ก็หมุนเปิดวาวล์บนถังแก๊ส ตามลูกศร Open
หมุนวาวล์เพียง 1 รอบ ก็เพียงพอแล้ว 
หากหมุนหลายๆรอบ อาจทำให้หลงทิศทางได้เวลาจะหมุนปิด


หากหัวปรับมีระบบเซฟตี้ ก็ให้กดปุ่มลง 1 ครั้งด้วย

เมื่อเลิกใช้งานแล้ว หลังจากปิดเตาแล้ว ควรปิดวาวล์ที่ถังด้วย
เพื่อความมั่นใจ