วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555

หัวปรับ Regulator

หัวปรับ Regulator

ให้คำแนะนำในการใช็แก๊สหุงต้ม,การเลือกซื้อถังแก๊ส

หรือหัวปรับความดัน สำหรับถังแก๊ส LPG


ใช้สำหรับควบคุมแก๊สในถังให้ปล่อยออกมาในปริมาณที่ต้องการ
เพราะแก๊สที่บรรจุในถังนั้นถูกทำให้เป็นของเหลว และอัดเก็บไว้ในถังแก๊ส
หากไม่มีหัวปรับความดัน แก๊สที่ออกมาจะมีความดันสูงมาก
จนอุปกรณ์เตาแก๊สอาจจะเสียหายได้ และจะเป็นอันตรายอย่างยิ่ง

มี 2 แบบ ที่นิยมใช้กัน



หัวปรับแบบ แรงดันต่ำ Low Pressure


ชนิดแรงดันต่ำ (Low Pressure) ใช้กับเตาแก๊สทั่วไป
เป็นมาตรฐาน สำหรับงาน
หุงต้มในครัวเรือน

หัวปรับแบบ แรงดันสูง High Pressure


ชนิดแรงดันสูง (High Pressure) ใช้กับเตาแบบเฉพาะ
ที่เห็นตามโรงครัว หรือ ร้านอาหารที่ต้องการใช้ไฟแรงๆ ในการผัด การต้มในหม้อใหญ่ๆ การทำอาหารในปริมาณมากๆ ก็จะใช้เตาชนิดนี้








หัวปรับทั้ง 2 แบบจึงใช้แทนกันไม่ได้ ต้องใช้ให้เป็นประเภทเดียวกันกับเตาแก๊ส

ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เกิดอันตรายได้ !



การเลือกซื้อ

       เริ่มจากการใช้งาน ดูว่าลักษณะการใช้งานของเราเหมาะกับอุปกรณ์แบบไหน
โดยเลือกแบบของเตาแก๊สที่จะใช้ ว่าจะใช้เตาแบบครอบครัว หรือแบบหัวเร่ง(ไฟแรงกว่า)
ก็ให้เลือกซื้อหัวปรับตามแบบเตาแก๊สที่จะใช้


เมื่อจะใช้เตาแก๊สแบบธรรมดา (แบบครอบครัวทั่วไป) ก็มีหัวปรับแบบ แรงดันต่ำ (Low) ให้เลือกอีกหลายแบบ





1.แบบพื้นฐาน

 เป็นแบบธรรมดาที่สุดเท่าที่จะใช้ได้ ราคาต่ำสุด คุณภาพอยู่ที่ผู้ผลิตจะใช้วัสดุที่มีคุณภาพเพียงไร มีมากมายหลายยี่ห้อ ทั้งผลิตในไทย จากจีน และจากทางยุโรป มาตรฐาน และราคา ก็จะต่างกันไป อาจจะเลือกจากยี้ห้อที่เชื่อใจได้




2. แบบเซฟตี้

 เป็นแบบที่มีระบบตัดแก๊สอัตโนมัต จะตัดแก๊สทันที ที่สายขาด หรือสายหลุด
เวลาใช้ ก็หมุนวาวล์ถังแก๊ส แล้วกดปุ่มเซฟตี้ จึงจะใช้ได้ คุณภาพและราคาแตกต่างกันไปใน
แต่ละยี่ห้อ ความปลอดภัยก็ดูจะมีมากกว่าแบบแรก เพราะมีระบบตัดแก๊สด้วย แต่ข้อเสียคือ
พอใช้งานไปซักระยะ ระบบเซฟตี้อาจมีการขัดข้อง จึงควรเลือกยี่ห้อที่มีการรับประกัน 1 ปีขึ้นไป



3.แบบเซฟตี้+เกจ์วัดปริมาณแก๊ส

เป้นแบบเซฟตี้ ที่เพิ่มอุปกรณ์วัดปริมาณแก๊สในถังให้อีก โดยดูได้ที่หน้าปัดของเกจ์
เพื่อให้ผู้ใช้รู้ว่าตอนนี้ แก๊สในถังยังเหลืออยู่ในปริมาณเท่าใด โดยหากแก๊สไกล้จะหมด
เข็มก็จะตกมาอยู่ในเขตสีเหลือง ลงมาเรื่อยๆ จนถึงเขตสีแดง ก็แสดงว่าแก๊สกำลัง
จะหมดแล้ว



4.แบบเซฟตี้+เกจ์วัดปริมาณแก๊ส+ระบบตั้งเวลา

รุ่นนี้เป็นการรวมเอาระบบต่างๆ ไว้ในตัวเดียว ราคาจะสูงกว่ารุ่นอื่นๆ การใช้งานก็ตามแต่ผู้ใช้จะเห็นว่ามีประโยชน์ ระบบตั้งเวลา เราเลือกได้ว่าจะใช้เตาทำอาหารกี่นาที เมื่อหมดเวลาที่ตั้งไว้ ระบบจะตัดแก๊สทันที เหมาะสำหรับคนที่ชอบใช้เครื่องมือช่วยในการทำอาหาร






เตาหัวเร่ง หรือเรืยกเตาจีน มีรหัสตามขนาดคือ KB-3,KB-5,KB-8

 เตาหัวเร่งต้องใช้หัวปรับแบบ แรงดันสูง High Pressure




หัวปรับแบบแรงดันสูง (High) 

          ก็มีอุปกรณ์เสริมเช่นเดียวกัน ทั้งแบบธรรมดา แบบเซฟตี้
และแบบมีเกจ์ดูปริมาณ แต่เท่าที่มีผู้ใช้งาน แบบพื้นฐานธรรมดาดูจะได้รับความนิยม
มากกว่า อาจจะเป็นเพราะราคาต่ำสุด หรือความทนทาน ที่ไม่มีชิ้นส่วนย่อยๆจุกจิกมากนัก
จึงไม่ค่อยมีปัญหาว่าจุดนั้นเสีย จุดนั้นไม่ทำงาน อีกอย่าง ก็เป็นไปตามราคา และสภาพการใช้งานด้วย อุปกรณ์เหล่านี้ไม่ควรให้อยู่ในสภาพตากแดด ตากฝน อยู่กลางแจ้ง รักษาความสะอาด ไม่ถึงกับต้องเอามาล้าง แต่อย่าให้เปียก หรือโดน น้ำมันหกใส่ ฝุ่นละออง ความสกปรกก็เป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้อายุการใช้งาน สั้นลงกว่าที่ควร
           อุปกรณ์สำหรับเตาแรงดันสูงนี้ จะมีราคาสูงกว่าของแบบความดันต่ำ การเลือกซื้อให้เน้นสินค้าที่มีคุณภาพ มีความแข็งแรงทนทาน แม้จะมีราคาสูง แต่ก็ให้ความปลอดภัยมากกว่า

สามารถสอบถามได้จากร้านจำหน่ายแก๊ส และอุปกรณ์เตาแก๊สที่เชื่อถือได้ จะแนะนำท่านได้

4 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

กะปุ๊กลุก 7 กก.ความดันลดลง 2 ปอนด์ต่อตารางนิ่วต่อวัน ความสิ้นเปลื้องการใช้แก็สแอลพีจีของข้าพเจ้าเป็นเท่าไร!

Unknown กล่าวว่า...

ขออภัยหากให้ข้อมูลผิดพลาด
เนื่องจากไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญ แต่ขอให้ความเห็นตามที่เข้าใจก็แล้วกันครับ
ที่คุณอ่านค่าได้ว่าความดันของแก๊สในถังกะปุ๊กลุกของคุณลดลง 2 ปอนด์/ตารางนิ้ว ต่อวัน
นี่อ่านได้จาเกจ์วัดของหัวปรับใช่ไหมครับ
ถ้าเช่นนั้นต้องดูว่าเกจ์วัดอันนี้ตั้งค่าMax ของความดันสูงสุดไว้ที่ตัวเลขใด
ปกติแก๊สที่อัดลงในถังมีความดันอยู่ที่ประมาณ 60 – 120 psi. (ปอนด์/ตารางนิ้ว) ความดันจะเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ,ปริมาณและส่วนผสม (ส่วนผสมคือ บิวเทน และโปรเพน )
เกจ์หัวปรับจะตั้งค่าไว้ให้อ่อนกว่าความจริงเล็กน้อย มีอัตราการจ่ายแก๊ส แล้วแต่รุ่น ส่วนมากจะ
จ่าย 2-4 กิโลกรัมต่อชั่วโมง (ความหมายคือ เปิดเตาไฟแรงสุดในเวลา 1 ชม.แก๊สจะออกจากถัง 2-4 กิโลกรัม หรือน้อยกว่านั้น เพราะแก๊สที่ออกมาเป็นก๊าซ ที่ขยายตัวมาจากของเหลว)

วิธีคำนวนอาจต้องดูจากเกจ์ หาเลขที่หน้าปัดถ์ ความดันเมื่อแก๊สเต็มถัง
ผกผันกับน้ำหนักแก๊สในถัง (ถ้ามีตาชั่งจะคำนวนง่าย)
แล้วดูว่าเมื่อความดันลดลง 2 หน่วย
น้ำหนักลดลงกี่กรัม
แล้วเอาราคาแก๊ส หาร น้ำหนัก 7 กก. ให้ได้ราคา บาท/กรัม
ก็จะรู้คร่าวๆว่าวันนึงใช้แก๊สไปในราคากี่บาท
อันนี้ไม่เป๊ะนะ แค่ดูคร่าวๆ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ความดันเมื่อแก๊สเต็มถัง 122 psi. อ่านค่าด้วย Regulator LPG ยี่ห้อ SUMO ก็จะลองทำตามคำแนะนำดู
และอยากให้เขียนเรื่อง ถังแก๊สแอลพีจีคอมโพสิต ที่ผลิตจากบริษัท อุตสาหกรรม จอบไท จำกัด ที่จะจำหน่ายโดยบริษัท พีเอพี แก็สแอนด์ออยส์ จำกัด ในนาม "ถังอิ่มอุ่น"

Unknown กล่าวว่า...

ครับผม เคยอ่านเจอในข่าวเหมือนกัน เกี่ยวกับถังอิ่มอุ่น
เคยเห็นแบบเดียวกันในประเทศทางยุโรปก็ใช้แบบวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์
เดี๋ยวหาข้อมูลให้ลึกๆกว่าในข่าวได้ก่อน จะนำมาเขียนครับ