วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แอบนำแก๊สออกนอกประเทศ

แก๊สหุงต้ม lpg การเลือกซื้อ วิธีใช้

วิเคราะห์ข่าวการลักลอบนำแก๊สหุงต้มออกนอกประเทศ

ภาพข่าวจาก ไทยรัฐ

จากข่าวนี้ กรมศุลฯจับเรือลอบส่งก๊าซหุงต้มกว่า 2 ตัน

กรมศุลการกรวจับกุม เรือประมงดัดแปลงบรรทุกก๊าซหุงต้มประมาณ 20,000 กก.มูลค่ากว่า 2,500,000 บาท เตรียมลักลอบส่งประเทศกัมพูชา

ที่ ท่าเทียบเรือสินค้าขาออก สำนักงานศุลการกรท่าเรือกรุงเทพ นายราฆพ ศรีศุภอรรถ ผู้อำนวยการสำนักงานสืบสวนและปราบปราม และ น.อ.ประจวบ อ่อนตามธรรม เสนาธิการศุลกากร กองกำลังป้องกันชายแดน จันทบุรีและตราด( เสธ.กปช.จต. )ร่วมกันแถลงข่าวจับกุม เรือประมงดัดแปลง 1 ลำ และถังก๊าซหุงต้ม ขนาด 48 กก. จำนวน 350 ถัง ถังขนาด 20 กก. จำนวน 84 ถัง และถังขนาด 15 กก.จำนวน 26 ถัง รวมทั้งหมด 460 ถัง น้ำหนักก๊าซรวมประมาณ 20,000 กก.มูลค่าของกลางก๊าซ และเรือประมงดัดแปลงกว่า 2,500,000 บาท เตรียมลักลอบส่งประเทศกัมพูชา แต่ถูกจับได้บริเวณปากอ่าวแหลมกลัด จ.ตราด

นายราฆพ กล่าวว่า การจับกุมการลักลอบขนก๊าซครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ส่วนสืบสวนปราบปราม2 ร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรด่านคลองใหญ่ สนธิกำลังกับ ทหารเรือหน่วยเฉพาะกิจกรมนาวิกโยธิน จ.ตราด ทำให้สามารถจับกุม เรือประมงดัดแปลงบรรทุกก๊าซหุงต้มลักลอบไปส่งที่ประเทศกัมพูชา ได้ที่บริเวณอ่าวแหลมกลัด จ.ตราด ได้ผู้ต้องหา 2 ราย คือ นายธวัชชัย รักษากุล ผู้ควบคุมเรือ และนายจตุพร ผกาแก้ว ช่างเครื่องประจำเรือ เจ้าหน้าที่จึงแจ้งข้อหา พยายามลักลอบนำสินค้าก๊าซหุงต้ม ซึ่งเป็นสินค้าควบคุมตามประกาศคณะกรรมการกฎหมายศุลกากร

นายราฆพ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ก๊าซหุงต้มภายในประเทศ ราคาต้นทุน กก. ละ 37 บาท แต่รัฐบาลต้องอุดหนุนเงิน กก. ละ 19 บาท เพื่อให้ราคาขายในประเทศอยู่ที่ กก. ละ 18 บาท และกลุ่มขบวนการลักลอบดังกล่าวนำไปขายที่กัมพูชา กก. ละ 40 โดยจะใช้ท่าเทียบเรือต่างๆ ในแม่น้ำตราดเป็นจุดนำสินค้าลักลอบลงเรือ ซึ่งเป็นกลุ่มขบวนการของผู้มีอิทธิพลในพื้นที่สร้างความเสียหายให้แก่ระบบเศรษฐกิจอย่างมาก
ขอบคุณเนื้อหาข่าวจากเว็บ เดลินิวส์


        นั้นแสดงให้เห็นว่า แก๊สหุงต้มของเราเป็นสินค้าที่ไม่ได้มีให้ใช้กันอย่างฟุ่มเฟือย
ทุกกิโลกรัม เราต้องใช้งบประมาณจากส่วนรวม มาชดเชยราคาไว้ เพื่อให้ชาวบ้านได้
ใช้แก๊สกันในราคาถูก อาจจะถูกกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา แต่ก็แพงกว่าประเทศ
อย่างมาเลเซีย เหตุที่ของมาเลถูกกว่า ก็เกิดจากการที่รัฐบาลของเขาทำราคาให้ถูกสำหรับ
ประชาชนของเขาเช่นกัน และเขาเป็นผู้ผลิต ส่งออกรายใหญ่ จึงคุมราคาได้


การที่คนบางกลุ่มลักลอบนำแก๊สในประเทศออกไปขายนอกประเทศเพื่อหากำไรจากส่วนต่าง
ก็เท่ากับเอาังบประมาณแผ่นดินไปเข้ากระเป๋าต้วย เป็นเรื่องน่าเสียดาย สิ่งที่เราพอจะืทำได้
ก็คือ ใช้อย่างประหยัด และคุ้มค่าที่สุด และไม่ส่งเสริมการลักลอบนำออกไปอย่างไม่ถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น: