วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ปืนจุดเตาแก๊ส

ปืนจุดเตาแก๊ส

ที่จุดเตา,ที่จุดไฟ,อุปกรณ์จุดไฟ


เป็นอุปกรณ์เสริมชิ้นหนึ่ง ที่สำคัญเหมือนกัน
ไว้ใช้จุดเตาแก๊สด้วยตัวเอง ในกรณีเตาแก๊สที่ใช้อยู่เกิดระบบการจุดขัดข้อง

หรือเตาแก๊สปิคนิค ก็จะต้องใช้ปืนจุด เพราะแม้ว่าเตาแก๊สปิคนิคบางรุ่นจะมีปุ่มกด
เพื่อจุดไฟติดตั้งมาให้ที่เตาแล้ว แต่ก็พบว่า ระบบนี้เสียง่ายมาก เพราะหัวจุดอยู่ไกล้ไฟมาก
จนถูกเผาอยู่ตลอดเวลา การใช้ที่จุดแบบแยกออกมาจึงดีกว่า

ปืนจุดไฟนี้มีหลายชนิด

แบบตัวปืนสแตนเลสทนทานราคาสูง และแบบตัวปืนเป็นพลาสติกราคาย่อมเยากว่าระบบเดียวกัน

แบบแมกนีโต 

เป็นระบบเดียวกับที่มีอยู่ในหัวสปาร์คของเตาแก๊สทั่วไป ภายในมีแท่งถ่านเป็น
ตัวประจุไฟ มีความทนทานดี ถ้าผลิตด้วยวัสดุที่ดีอย่างสแตนเลส แต่ก็มีราคาแพง ปัจจุบันมีแบบ
ที่เป็นบอดี้พลาสติกออกมาด้วยราคาก็ถูกลงมาหน่อย

ปืนจุดแบบใช้แก๊สประเภทแก๊สหมดแล้วทิ้ง

แบบใช้แก๊ส 

ตัวจุดแบบนี้มีระบบเหมือนไฟแช็คแก๊สแบบใช้แล้วทิ้ง คือมีหลอดบรรจุแก๊สอยู่ ข้อดีของ
ปืนแบบนี้คือมีเปลวไฟด้วย ไม่เป็นเพียงแค่กระแสไฟวิ่งผ่านเหมือนแบบแรก ทำให้จุดติดไฟที่เตาแก๊สง่ายกว่า และมีราคาถูก แต่ข้อเสียก็คือเมื่อแก๊สที่บรรจุอยู่หมด ก็จะไม่มีเปลวไฟ แต่ก็จุดเตาได้อยู่
เพราะมีไฟสปาร์คเล็กๆ แต่ก็จะติดยากกว่าเดิม ปืนชนิดนี้ไม่ควรเติมแก๊สเอง แม้ว่าจะมีช่องให้เติมก็ตาม เพราะอาจเกิดอันตรายได้

อุปกรณ์อื่นๆ



ที่จุดไฟแบบหัวพ่นไฟ ใช้เป็นอุปกรณ์ที่พ่อครัวจะพ่นไฟเพื่อปรุงแต่งอาหารในจุดที่ต้องการ
และการทำเบเกอรี่ อาหารยุโรป ใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง

การเลือกใช้ ก็อาจต้องดูคุณภาพของปืนจุด หากต้องการอุปกรณ์ที่ทนทาน ใช้งานได้ยาวนานก็อาจต้องเลือกสินค้าที่ใช้วัสดุการประกอบที่มีคุณภาพ ราคาอาจจะสูงซักหน่อยแต่ก็คุ้มค่า

แต่หากต้องการอุปกรณ์ที่พอใช้ได้ ต้องการใช้แค่ชั่วคราว สินค้าที่ราคาถูก มีขายอยู่ทั่วไปอย่างปืนจุดใช้แก๊สแบบใช้แล้วทิ้ง ก็มีขายทั่วไป ตามร้านทุกอย่าง 20 บาท ซึ่งก็ใช้ได้เหมือนกัน


ศูนย์ข้อมูลแก๊สหุงต้ม
การเลือกซื้อ และวิธีใช้

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การเลือกซื้อเครื่องตรวจจับแก๊สรั่ว

อุปกรณ์ตรวจแก๊สรั่ว



ปัจจุบันมีผู้นำเข้าอุปกรณ์ตรวจวัด หรือตรวจจับแก๊สรั่ว จากต่างประเทศ เข้ามาขายกันอยู่มาก
ซึ่งก็มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบปากกา แบบเซนเซอร์ติดตั้งกับถังแก๊ส หรือแบบที่ใช้กันในสถานประกอบการใหญ่ๆ ซึ่งก็มีราคาตั้งแต่หลักพัน จนถึงหลักแสน ต่อเครื่อง

ซึ่งบางท่านก็อาจจะอยากมีอุปกรณ์เหล่านี้ไว้ใช้ส่วนตัวบ้าง เพราะนับวัน การดำเนินชีวิตประจำวันของหลายคน ก็ต้องไกล้ชิดกับการใช้แก๊ส LPG และ NGV ทั้งที่ใช้ในบ้าน และติดรถยนต์ บางท่านอาจมีกิจการค้าที่ต้องใช้แก๊สในปริมาณมาก



การจะเลือกซื้อเครื่องมือตรวจจับแก๊สมาใช้ก็ควรหาข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์เหล่านี้ดูก่อน เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ และไม่เสียเงินโดยไม่จำเป็น


บทความที่ให้ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ตรวจแก๊สรั่วที่น่าอ่าน

ตัวอย่างผู้ใช้รายหนึ่งที่ซื้ออุปกรณ์ตรวจแก๊สแบบปากกา

ศูนย์ข้อมูล แก๊สหุงต้ม
การเลือกซื้อ วิธีใช้ที่ถูกต้อง

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เอาถังแก๊สไว้ในบ้านก็เหมือนเอาระเบิดไว้ในบ้าน

บทความจากเว็บของ ธอส.
โดย คุณ ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์


ลิ้งค์ไปยังบทความต้นฉบับ

10.02.11
เอาถังแก๊สไว้ในบ้านก็เหมือนกันเอาระเบิดไว้ในบ้าน !!!



ในบ้านเราหากจะมีถังแก๊ส  ก็คงตั้งไว้ในครัวสำหรับหุงต้ม  หรือตั้งไว้ในห้องน้ำสำหรับทำน้ำร้อนความจริงถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรเอาตัวถังไปไว้ในบ้านเลย  เพราะเหมือนกับเอาระเบิดไปไว้ในบ้านนั่นเอง  แถมเวลาหัวถังรั่ว  ที่เปิดปิด  หรือวาล์วบกพร่อง  แก๊สก็จะลอยวนเวียนอยู่ภายในบ้าน  โดยเฉพาะช่วงที่ไม่มีลมพัดช่วยกระจายแก๊สด้วยแล้ว  หากเกิดประกายไฟแม้แต่นิดเดียวก็ระเบิดตูมได้  !!!  หรือถึงแม้ไม่มีประกายไฟเกิดขึ้นก็ตาม  หากมีจำนวนปริมาณแก๊สมาก ๆ คน  สัตว์  สูดดม  เข้าไปก็ถึงแก่ชีวิตเหมือนกัน
  ทางที่ดีและปลอดภัยที่สุดก็คือการเอาถังแก๊สไปตั้งไว้ด้านนอกตัวอาคาร  หากเกิดการระเบิดขึ้นก็ยังมีผนังกั้นอยู่  หรือเกิดการรั่วซึมก็ยังมีลมช่วยพัดกระจายและมีโอกาสโดนประกายไฟให้ระเบิดน้อยลง  …แต่ก็อย่าไปวางถังแก๊สให้ถูกแดดถูกฝนโดยตรงก็แล้วกันนะครับ
  โดย ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์



        ซึ่งจะว่าไปแล้วก็มีส่วนที่จะต้องระมัดระวัง เพราะแก๊สหุงต้มที่บรรจุในถัง มีความดันมหาศาลอยู่
สิ่งนี้ จะต้องมีการจัดการที่เหมาะสม ไม่เหมือนเฟอร์นิเจอร์ ของใช้ในบ้านชิ้นอื่นๆ หากในขั้นตอนการออกแบบ และก่อสร้าง ได้คำนึงถึงสิ่งนี้ ก็จะดีไม่น้อย เช่น ทำจุดวางถังแก๊สนอกตัวอาคาร เหมือนตามห้างสรรพสินค้า ที่ด้านหลังจะมีจุดวางถังแก๊สโดยเฉพาะ แล้วเดินท่อเข้าไปยังจุดที่ใช้งาน
โดยจะต้อมีหลังคากันแดดกันฝนอย่างมั่นคง ก็จะไม่มีปัญหาการถ่ายเทอากาศ






ศูนย์ข้อมูลแก๊สหุงต้ม

วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความหนาของถังแก๊ส

ความหนาของถังแก๊สหุงต้ม และถังแก๊สชนิดอื่น

        การผลิตถังแก๊สที่ใช้บรรจุก๊าซหุงต้ม ที่ได้มาตรฐาน อิงตาม มอก. 27 และ มอก. 915
ให้ต้องได้ตามข้อกำหนดที่ตั้งไว้คือมีความหนาของตัวถัง 2.2 มม. เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน
หากว่ากันตามทฤษฎี อาจจะยังไม่เห็นภาพ จึงได้นำตัวอย่าง จากที่มีผู้ทำการทดสอบ หาความหนา
ของเนื้อเหล็ก ที่ทำถังแก๊สชนิดต่างๆไว้ น่าจะมีประโยชน์ และง่ายต่อการทำความเข้าใจของคนทั่วไป



 ที่มา  

http://topicstock.pantip.com/ratchada/topicstock/2008/06/V6663222/V6663222.html

 

ถัง NGV 100 ลิตรน้ำจุแก็สCNGได้ 21กิโลกรัมความหนาถัง 8.5 มม.


 

ถัง LPG ความจุ 75 ลิตร แต่เติมได้ 65 ลิตร ค่าความหนา 2.8 มม.



ถัง LPG ครัวเรือน 15 กก. วัดได้ 2.6 มม.(ข้อมูลที่อยู่บนถัง ระบุว่าหนา 2.4 มม.)


ถังลม ออกซิเจน (ใช้ตัดเหล็ก) ค่าความหนาวัดได้ 7.7 มม.

จะเห็นได้ว่า ถังแก๊สที่ใช้ในบ้านจะมีความหนา น้อยกว่าถังบรรจุก๊าซ ngv ที่ใช้ในรถยนต์ นั่นเป็นเพราะก๊าซ cng หรือ ngv มีแรงดันมากกว่า lpg จึงต้องใช้ถังที่มีความหนาเป็นพิเศษ


ส่วนประกอบของถังแก๊ส


         ถังแก๊ส เป็นภาชนะสำหรับบรรจุแก๊ส เนื่องจากแก๊สมีความดันไอสูง
ภาชนะที่จะนำมาใช้บรรจุจึงต้องทนกับความดันได้

เหล็กเหนียวเป็นวัสดุที่เหมาะที่สุดในการใช้ทำถังแก๊สทั่วๆไป เหล็กเหนียวที่จะนำมาใช้ทำถังแก๊ส
จะมีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อกำหนดทั้งทางกลและทางเคมี เพื่อให้ถังแก๊สที่ผลิตออกมานอกจากจะทน
ต่อความดันสูงแล้ว ยังต้องไม่เปราะและไม่แตกง่าย

        เพื่อให้มีความปลอดภัยสูงสุดในการใช้ ในบางประเทศใช้อะลูมิเนียมทำถังแก๊ส เพราะจะทำให้
ถังแก๊สมีน้ำหนักเบา แต่เนื่องจากมีราคาแพง และไม่ทนทานต่อการกัดกร่อนของกรด/ด่างที่ปะปน
อยู่ในถังแก๊สจึงยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายนัก

         การผลิตถังแก๊สจะต้องเป็นไปตามขบวนการและมาตรฐานกระทรวงอุตสาหกรรม หรือมาตรฐาน
สากลอื่นๆ เช่น มาตรฐานญี่ปุ่นมาตรฐาน ออสเตรเลีย มาตรฐานกรมการขนส่งทางบกของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น




คลิกที่ภาพเพื่อขยายใหญ่



ถังแก๊สมีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้

  1. โกร่งกำบังลิ้น/หูหิ้ว ทำหน้าที่สำคัญคือป้องกันไม่ให้ลิ้น วาล์ว ถูกกระทบกระแทกและใช้สำหรับหิ้ว
  2. ลิ้น/วาล์ว เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ลิ้น/วาล์ว สำหรับถังชนิดนี้ ให้เป็นชนิดที่ปิดโดยอัตโนมัติ จึงออกแบบเมื่อถอดหัวปรับออกโดยใช้สปริงเป็นตัวปิดเปิด
  3. ฐานถัง มีไว้สำหรับป้องกันไม่ให้ก้นถังกระแทกกับพื้น และเพื่อให้ตั้งถังบนพื้นได้อย่างมั่นคงฐานถังจึงต้องเรียบเสมอและแข็งแรง
ศูนย์ข้อมูลแก๊สหุงต้ม

ข้อมูลจาก http://www.nonggerd.ac.th/gas/__8.html


ข้อมูลที่น่าสนใจจากสื่อประกอบการเรียน โรงเรียนบ้านหนองเกิด โดยนายมงคล มูลชีพ